บทความ

วิธีการดูแลปลาหางนกยูง

รูปภาพ
วิธีการดูแล     ในน้ำสามารถมีสารละลายที่ไม่่เป็นพิษ ไม่ควรมี คลอรีนซึ่งนิยมใช้ฆ่าเชื้อในน้ำ  น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูง ควรเป็นน้ำจืดที่สะอาด ไม่ใช่น้ำบริสุทธิ์ ไม่เป็นกรดเป็นด่าง  ปลาหางนกยูงสามารถอยู่ในน้ำที่มีสารละลายทางธรรมชาติต่ำเช่น น้ำประปาที่ผ่านการพักเพื่อกำจัดคลอรีนแล้ว จนถึง น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งมีสารละลายสูง เมื่อเราได้ปลาหางนกยูงมาเราจะเริ่มต้นอย่างไร จะให้ปลานั้นอยู่ในน้ำแบบไหน จึงไม่ใช่สูตรที่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงสภาพน้ำอย่างทันทีเป็นอันตรายอย่่างยิ่งกับปลาหางนกยูง ตู้ปลาหางนกยูงที่สะอาด ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/plahangnkyungguppy/kar-leiyng-du

ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลาหางนกยูง

ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลาหางนกยูง 1. สายพันธุ์ที่ได้คุณภาพต่ำลงเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจาก พ่อแม่เป็นปลาที่มาจากคอกเดียวกัน ปลาเพศเมียได้รับการผสมมาแล้ว ทำให้มีน้ำเชื้อของปลาเพศผู้คอกเดียวผสมกันอยู่ พยายามแยกเพศผู้เพศเมียให้ได้เร็วที่สุดสายพันธุ์ที่ดีควรจะเก็บคัดไว้เพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป และควรหาสายพันธุ์จากที่อื่นมาผสมเพื่อไม่ให้เกิดการผสมสายเลือดที่ชิดเกินไป 2. โรคที่มาจากแหล่งอื่น ๆ เมื่อได้ปลามาจากที่อื่น ๆ อย่างเพิ่งปล่อยรวมกับปลาที่เลี้ยงไว้ควรจะพักให้ จนกระทั่งแน่ใจว่า ไม่มีโรคติดต่อแล้ว 3. โรคทางเดินอาหาร พยายามหลีกเลี่ยงการใช้อาหารธรรมชาติโดยเฉพาะ ไรแดงที่รวบรวมมาจากแหล่งน้ำ อื่น ๆ นอกจากจะต้องแช่ด่างทับทิมเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคแล้ว ควรจะเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้ อาหารสำเร็จรูปมากขึ้น จะทำให้สามารถเติมสารอาหารที่จำเป็นผสมในอาหารได้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/ratchaburi/boonchu_s/fish/panpanookyuk.html

การเลี้ยงปลาหางนกยูง

การนำปลาหางนกยูงลงเลี้ยง จัดซื้อปลาหางนกยูงตามชนิดหรือสายพันธุ์ที่ต้องการซึ่งส่วนใหญ่จะใส่ถุงมา ต้องนำถุงปลาแช่ไว้กับในตู้ปลา ครึ่ง-1 ชั่วโมง เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำในถุงให้เท่ากับน้ำในตู้ปลาเสียก่อนหรือเพื่อให้ปลาชินกับอุณหภูมิของน้ำใหม่ การปล่อยปลาให้เอียงปากถุงให้ปลาว่ายออกไปเอง แล้วรอสังเกตุดูว่าปลาเกิดอาการดื่มน้ำหรือเปล่าถ้าเกิดอาการให้ใส่น้ำยาปรับสภาพน้ำลงไปเล็กน้อย การให้อาหาร การให้อาหารกับปลาลงตู้ใหม่ๆไม่ควรให้อาหารใดๆในวันแรก หลังจากนั้นต้องให้ทีละน้อยถ้าเหลือต้องตักหรือดูดออก เพราะอาหารตกค้างจะทำให้น้ำเสียแล้วค่อยเพิ่มในครั้งต่อๆไปให้เหมาะสมตามความต้องการ    - ให้อาหารวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ในปริมาณเช้าที่มากกว่าช่วงเย็น เพราะว่าการย่อยอาหารในเวลาเช้าจะดี มีแสงแดด อ๊อกซิเจนสูง แต่ในเวลาเย็นแสงแดดอ่อนลง อ๊อกซิเจนจะต่ำลงไปตามพระอาทิตย์ อาจทำให้ปลาท้องอืดและอาจตายได้ เนื่องจากระบบการย่อยไม่สมบูรณ์อาหารตกค้างในท้อง การดูแลน้ำเลี้ยงปลา น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูง มักไม่ใคร่เป็นปัญหา เพราะเป็นปลาเล็กมูลปลาน้อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นให้สังเกตุจากอาหารของปลา ถ้าเป็นปกติมีความ

ลักษณะและที่มาของปลาหางนกยูง

รูปภาพ
ลักษณะปลาหางนกยูงกษณะของปลาหางนกยูง เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 5 เซนติเมตร มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัด กล่าวคือ ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก แต่มีสีสันและครีบที่สวยงามกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า ท้องอูม สีสันและครีบเครื่องเล็กกว่า ปลาหางนกยูงตัวผู้ ปลาหางนกยูงตัวเมีย ที่มาของปลาหางนกยูง การกระจายพันธุ์บริเวณทวีปอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดจนถึงน้ำกร่อยที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินทั้งพืชและสัตว์น้ำรวมถึงแมลงหรือตัวอ่อนแมลงขนาดเล็กด้วย                                       ขอขอบคุณข้อมูลจาก   https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%87

ประโยชน์ของการเลี้ยงปลาหางนกยูง

รูปภาพ
ประโยชน์ของการเลี้ยงปลาสวยงาม   สุขใจ เกิดความเพลิดเพลิน และช่วยคลายความเครียด เป็นงานอดิเรกของสมาชิกในครอบครัว ทำให้มีจิตใจที่อ่อนโยน มีความเอื้ออาทรต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (นอกจากตัวเอง) เป็นการฝึกความรับผิดชอบ เพราะต้องมีภาระในการให้อาหาร ถ่ายน้ำ และการดูแลอื่นๆ ไม่ใช่น้อย ช่วยกำจัดแมลง โดยเฉพาะลูกน้ำยุง ตัวอันตราย เพราะปลาสวยงามส่วนใหญ่ชอบกินตัวอ่อนของแมลงเป็นอาหาร ใช้ประดับบ้าน ถ้าจัดตู้ปลา หรือ อ่างปลา บ่อปลา ให้สวยงาม สามารถสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักได้ อย่้าสร้างรายได้จากการพนันที่เอาปลาไปกัดกันนะครับ สงสารปลา เป็นการทำเวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://vcanfit.blogspot.com/2016/04/blog-post_20.html

ปลาหางนกยูงป่วย

ปลาหางนกยูงป่วย ถึงแม้ปลาหางนกยูงจะเป็นปลาที่แข็งแรง เลี้ยงดูง่าย แต่บางครั้งก็มีอาการเจ็บป่วยอยู่บ้างเหมือนกัน ปลาไม่สบายสังเกตุจากหางสู่ เหงือกบาน การว่ายน้ำผิดปกติ ว่ายน้ำไม่ขมักเขม็นคล่องแคล่วว่องไวอย่างปกติ anicircle03_orange.gifการปฐมพยาบาลเบื้องต้นทำได้ดังนี้ - เตรียมน้ำละลายด้วยเกลือแกงแบบเจือจาง (เช่น น้ำหนึ่งขันใส่เกลือแกงประมาณหยิบมือ) - แยกปลา ลงเลี้ยงในน้ำที่จัดเตรียม - ใส่ยารักษาอาการ และชนิดของโรคและตามวิธีการของยาชนิดนั้นๆ - ในช่วงการรักษาโรค ต้องงดการให้อาหาร 1 สัปดาห์ ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/ratchaburi/boonchu_s/fish/panpanookyuk.html

ปลาหางนกยูง

รูปภาพ
ปลาหางนกยูง เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนเป็นบางส่วน จึงทำให้เกิดปัญหาลูกน้ำยุงลาย ปลาหางนกยูกจึง เป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับปลากินยุง ซึ่งเป็นกลุ่มปลาที่มีอวัยวะ ช่วยหายใจ ทำให้สามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนน้อยๆได้ดีมีความสามารถแพร่ พันธุ์ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วนอกจากนั้นยังเป็นปลาที่ชอบกินลูกน้ำ เราจึงเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อลดปัญหายุงลาย ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม ในประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิยมเลี้ยงกันในอ่างบัว เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก มีสีสันสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้โดยเริ่มต้นจากตัวเดียว จากการเป็นปลาผิวน้ำและเป็นปลาขนาดเล็ก ทำให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างบัว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการแพร่ขยายพันธุ์ก็กระทำได้ง่ายมาก ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://home.kku.ac.th/pracha/Guppy.htm